วัดในปากทะเล - อบต.ปากทะเล
พิมพ์
         วัดโบราณที่คู่กันกับวัดนอกปากทะเลก็คือวัดในปากทะเล เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุเป็นร้อยปี จากหลัก ฐานที่ปรากฏคือใบพระราชทานวิงสุงคามสีมาที่นายเปี่ยมกับราษฎรได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานที่เขต พระอุโบสถยาว 12 วา กว้าง 6 วา และได้ทรงพระราชอุทิศที่นั้นเป็นวิสุงคามสีมาของวัดในปากทะเลแขวงเมืองเพชร บุรี ตั้งแต่วันอาทิตย์ เดือนแปด ขึ้น 4 ค่ำ ปีจอ อัฐศก พุทธศักราช 2429 ข้อมูลดังกล่าวนับเป็นเครื่องยืนยันอายุของวัดได้เป็นอย่างดี ภายในวัดมีโบสถ์ไม้สัก ด้านหน้ามีมุขที่บันแกะสลักเป็นรูปเทวดาอุ้มหม้อน้ำและไก่คู่สองตัว วันที่ 21 มกราคม 2552 ผู้วิจัยไปถ่ายรูปวัดในปากทะเล ระหว่างที่ช่วยเจ้าอาวาสปิดประตูโบสถ์ก็ได้พบจารึกบน บานประตูซึ่งลบเลือนมากแล้วว่า
       ? ปฎิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อปีระกา เบ็ญจศก เดือน 4 แรม 9 ค่ำ พฤหัสบดี พระพุทธศักราช 2476 ? การค้นพบจารึกนี้ทำให้สามารถไขปริศนาที่ซ่อนอยู่บนหน้าบันโบสถ์ได้คือ ไก่หมายถึงปีระกา อัน เป็นปีที่มีการปฏิสังขรณ์โบสถ์ ส่วนเทวดาที่อุ้มหม้อน้ำนั้นอาจหมายถึงหลวงพ่ออูม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้นก็ เป็นได้ โดยเอาคำว่าอุ้มซึ่งออกเสียงคล้ายกับคำว่าอูมมาแทน นอกเหนือจากโบสถ์แล้วภายในวัดยังมีหมู่เจดีย์เก่า แก่หน้าโบสถ์ กุฎิไม้ ศาลาการเปรียญ พระพุทธรูปกลางแจ้งองค์ใหญ่เป็นต้น
          ลำดับเจ้าอาวาสปกครองวัดในปากทะเล
       1. หลวงพ่อแก้ว
       2. หลวงพ่อปลอด
       3. หลวงพ่ออูม
       4. หลวงพ่อขาว
       5. หลวงพ่อบุญรวบ ปุญกาโม
6. หลวงพ่อพระปลัดสมพิศ รุจิธัมโม
มีเรื่องเล่ากันมาแต่เก่าว่าคนปากทะเลและคนตะวันออกแลกหลวงพ่อกัน คือให้หลวงพ่อแก้วไปอยู่ ตะวันออกและให้หลวงพ่อปลอดซึ่งเป็นชาวตะวันออกมาอยู่ปากทะเล แต่ในความเป็นจริงแล้วหลวงพ่อทั้งสองรูป เดินทางไปและมาของท่านเอง โดยมีประวัติดังนี้
หลวงพ่อแก้ว เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2396 อายุครบก็อุปสมบทที่วัดในปากทะเล นอก จากแก่กล้าในทางวิปัสสนากรรมฐาน กล่าวกันว่าท่านยังเก่งในทางช่าง การสร้างวัดสมัยนั้นต้องสร้างเอง สมัยนั้น หลวงพ่อแก้วต้องเกณฑ์ภิกษุสามเณรและชาวบ้านเข้าไปตัดไม้เองในป่า ต้องพักแรมอยู่ในป่าครั้งละนานๆกว่าจะได้ ไม้มาปลูกศาลาหรือกุฎิสักหลัง
งานโค่นต้นไม้ งานชักลากไม้ในป่าเป็นงานหนักและเหนื่อย หลายครั้งผู้ร่วมงานก็เจ็บป่วยหลวงพ่อ แก้วจึงเริ่มสร้างพระปิดตาขึ้นเป็นครั้งแรก แจกเป็นกำลังใจให้กับผู้ร่วมงาน ตอนแจกท่านบอกว่าเอาไว้ป้องกันไข้ป่า ป้องกันภัยจากสัตว์ร้าย ลดอันตรายจากไข้และสัตว์ร้ายได้ไม่น้อย ภูตผี ปีศาจ ก็ไม่อาจเข้าใกล้
หลวงพ่อแก้วท่านเป็นนักก่อสร้าง ถ้าใครมาช่วยชักลากซุงจากป่ามาถึงวัดท่านก็ให้พระ 1 องค์ ใคร เอาซุงมาถวายท่าน 1 ท่อน ท่านก็จะให้พระ 1 องค์
ช่วงปลายชีวิต หลวงพ่อแก้วย้ายจากวัดพระทรง เพชรบุรี ไปอยู่ที่วัดเครือวัลย์ ชลบุรี ไม่มีบันทึก แน่ชัดว่าท่านมรณภาพในปี พ.ศ. ใด
พระอธิการปลอด หรือ ? หลวงพ่อปลอด? เกิดเมื่อ พ.ศ. 2387 บ้านอยู่ตำบลตะปอนน้อย อำเภอ ขลุง จังหวัดจันทบุรี ท่านมีความรู้ภาษาไทยพออ่านออกเขียนได้ แต่เดิมครอบครัวของท่านมีอาชีพทำสวน อุปสมบท เมื่ออายุครบเกณฑ์ตามประเพณีที่วัดรั้วเหล็ก(วัดประยูรวงศาวาส) จังหวัดธนบุรี ประมาณ พ.ศ. 2406
เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านฝึกฝนตนเองเสมอ ด้วยการศึกษาและปฎิบัติทางวิปัสสนา โดย เฉพาะการเทศน์ที่ไพเราะเป็นที่นิยมของสาธุชน นักได้รับนิมนต์ไปเทศน์ทำนองเทศน์มหาชาติอยู่เนืองๆ ชื่อเสียงด้าน การเทศน์ทำนองของท่านขจรขจายไปทั่ว จนกระทั่งได้รับกิจนิมนต์เทศน์ประชันในงานเทศน์มหาชาติของวัด ทว่าการ เทศน์ประชันครั้งนั้นของท่านว่ากันว่าท่านแพ้ให้กับผู้ประชันจึงเกิดความน้อยใจตนเอง จึงตัดสินใจลาเจ้าอาวาสเพื่อ ออกธุดงค์ ระหว่างธุดงค์ท่านได้พบกับนายทองพิมพ์ ชาวบ้านปากทะเล การสนทนาระหว่างกันเป็นที่ต้อง อัธยาศัยซึ่งกันและกัน ฝ่านนายทองพิมพ์ชาวบ้านปากทะเลถึงกับเลื่อมใสในปฏิปทาจริยวัตรของหลวงพ่อปลอดเป็น อันมาก จึงอาราธนาท่านมาจำพรรษาที่วัดปากทะเล ขณะนั้นวัดปากทะเลเป็นวัดที่สร้างใหม่ หลวงพ่อปลอดก็มีความ ตั้งใจอยู่เช่นกันว่าจะไม่กลับไปยังวัดเดิม จึงรับปากตกลงจำพรรษาอยู่ ณ วัดปากทะเลตั้งแต่นั้นมา
เมื่อหลวงพ่อปลอดได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากทะเล การปฏิบัติตนของหลวงพ่อปลอดเป็น ที่ยอมรับของสาธุชนในละแวกบ้านปากทะเลเป็นอันมาก เนื่องจากท่านมีวัตรปฎิบัติโดดเด่น ด้านการวิปัสสนากรรม ฐาน การแสดงธรรมเทศนาของท่านเป็นเอกอุ ทำให้อุบาสกอุบาสิกาเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน ดังนั้นการ พัฒนาบูรณะวัดให้เจริญงอกงามเป็นผลให้ปลูกสร้างกุฎิขึ้นมาใหม่อีก 4 หลัง ศาลาหลังเล็กๆเพื่อใช้แสดงธรรมอีกสาม หลัง และเพียงเวลา 3 ปี ท่านสามารถรวบรวมความศรัทธาจากสาธุชนสร้างอุโบสถได้สำเร็จ
หลวงพ่อปลอด เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านปากทะเล ท่านได้รวบรวมความศรัทธาของชาวบ้าน ปากทะเลเพื่อทำเขื่อนกั้นน้ำทะเล ป้องกันการกัดเซาะบริเวณหน้าวัดและบริเวณเนื้อที่หมู่ 1 ถึงหมู่ 6 ซึ่งจะประสบภัย ทางธรรมชาติอยู่เสมอ หลวงพ่อและชาวบ้านได้ทำการต่อเรือใบขึ้น 2 ลำ ยาว 7 วา หนึ่งลำยาว 6 วา หนึ่งลำ เพื่อนำ ไปบรรทุกหินและทรายจากเกาะสะเดาบางปูในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มาถมแนวเขื่อนกั้นน้ำทะเล การขนหินขน ทรายโดยเฉพาะทางเรือใบเป็นไปด้วยความมานะและอดทน ทำอยู่หลายปีแนวเขื่อนกั้นน้ำทะเลจึงสำเร็จ วัดและ ชาวบ้านจึงปลอดภัยจากการกัดเซาะของน้ำทะเล ปฏิปทาวัตรปฏิบัติ อีกทั้งงานสาธารณูปการของท่านเป็นที่ประจักษ์ แห่งกุศลกรรม หลวงพ่อปลอดจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลปากทะเลในที่สุด
นอกจากงานด้านการปฏิสังขรณ์บูรณะวัดแล้ว ท่านยังฝากผลงานด้านคีตศิลป์และนาฎศิลป์ไว้ให้กับ ชาวบ้านปากทะเลอีกด้วย ท่านได้สร้างวงปี่พาทย์ไว้ประจำวัด 2 วง แล้วฝึกสอนให้กับบรรดาศิษย์ ได้มีฝีมือติดตัวเป็น เครื่องเลี้ยงชีพ ละครชาตรีแห่งวัดในปากทะเลท่านก็เป็นผู้แต่งบทบาทและควบคุมการแสดงด้วยตัวท่านเอง มรดกทาง วัฒนธรรมอีกประการหนึ่งก็คือการเชิดการประดิษฐ์หุ่นกระบอกท่านก็นำนายหริ่ง ชาวตำบลบางแก้วที่มีความชำนาญ ทางด้านนี้ร่วมฝึกหัดให้สานุศิษย์ชาวปากทะเลได้รับความรู้จนสามารถตั้งวงหุ่นกระบอกประจำวัดได้ 1 วง